ความหมายของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ  เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง  ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่าโปรแกรม”   ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1.1   ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

1.2   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

เมื่อนำข้อมูลเมาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุดเป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “จอมอนิเตอร์” (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

ภาษาโปรแกรมมิ่ง (Programming Language)

ภาษาโปรแกรมมิ่ง  หมาย ถึง ภาษาใดๆ ที่ถูกออกแบบโครงสร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการเขียนคำสั่งหรือชุดคำสั่ง ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษที่มนุษย์เข้าใจ ประกอบด้วยโครงสร้างของภาษา (Structure) รูปแบบไวยากรณ์ (Syntax) และคำศัพท์ต่าง ๆ (Vocabulary หรือ Keyword) เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ในงานเขียนโปรแกรมจะต้องมีการเตรียมงานเกี่ยวกับการเขียนโปแกรมอย่างเป็นขั้นตอน เรียกขั้นตอนเหล่านี้ว่า “ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม” ดังนี้

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

1.    การวิเคราะห์ปัญหา

การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

    1.1   กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง

    1.2   พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า

    1.3   พิจารณาการประมวลผล ให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไร มีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง

    1.4   พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง รูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล

2.  การออกแบบโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudo code) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

3.  การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น

4.1    สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ

4.2  ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้

4.3  ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน

5.  การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1.    วัตถุประสงค์

2.    ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม

3.    วิธีการใช้โปรแกรม

4.    แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม

5.    รายละเอียดโปรแกรม

6.    ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ

7.    ผลลัพธ์ของการทดสอบ

6.  การบำรุงรักษาโปรแกรม

เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

การพัฒนาโปรแกรมจะดำนเนินการตามขั้นตอนที่ 1-6 ซึ่งแต่ละขั้นตอน สามารถย้อนกลับไปทำในขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้ เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือพัฒนาโปรแกรมไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามความต้องการของู้ใช้ในทุกขั้นตอน ซึ่งการดำเนนการต่ง ๆ ของขั้นตอนที่ 1-6 เราจะต้องมีการดำเนินการทำเอกสารประกอบโปรแกรม ควบคู่กับการดำเนนการพัฒนาโปรแกรมตลอด เมื่อเกิดารแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลอะไรก็ตามในโปรแกรมจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมในอนาคต สำหรับผู้พัฒนาที่จะต้องมาดูแลการใช้งานโปรแกรม และเมื่อพัฒนาโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็จะต้องดำเนินการทำเอกสารประกอบการใช้งานให้กับผู้ใช้ เพื่อที่จะสามารถใช้โปรแกรมได้ครบถ้วน และถูกต้อง

Software

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ระบบ

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ซอฟต์แวร์ระบบ

คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น

ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน  เช่น     การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ  ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล

ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส

2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98

3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมใช้งาน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีหลายชนิด ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายมีดังนี้

1) ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk Operating System : DOS)บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโดยให้ชื่อว่า พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จะใช้ระบบปฏิบัติการของ บริษัทไมโครซอฟต์  เช่นกันแต่ใช้ว่า เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System  :  MS-DOS) ซึ่งมีการทำงานคล้าย พีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว

2) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน และหลายงาน ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ หลายระบบโดยตั้งชื่อใหม่ เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์ (vinix) ไมโครนิกซ์ (Micronix) เอไอเอกซ์ (AIX) อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่างๆ เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกันโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้ มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ

 

3) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows)ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบ ติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ คือ มีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการที่เลือก (MENU) หรือสัญรูป(Icon) ในการสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนการพิมพ์ทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ในกลุ่มซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุกๆ ด้าน ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มตั้งแต่วินโดวส์รุ่นแรก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Windows 3.11
1. Windows 3.11 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ทำงานบนเครื่องเดียวการจัดการแบบ file manager แต่ไม่นับเป็นซอฟต์แวร์ระบบ
2. Windows 95  สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
3. Windows 98  สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
4. Windows Me  สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สนับสนุนทางด้านมัลติมีเดีย
5. Windows NT  เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
6. Windows 2000 Advance Server  เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อ
สื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
7. Windows XP  สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
สนับสนุนทางด้านมัลติมีเดียสามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
8. Windows CE  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
9. Windows Vista เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์เฉพาะเครื่อง

4)ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์ ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds)เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่งเขาใช้งานอยู่ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย และในปี พ.ศ. 2534 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่ โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ (source code) ก็เป็นที่เปิดเผย จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย

5)ระบบปฏิบัติ MAC OS X

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติ MAC OS X

พัฒนามาจากรุ่น MAX OS 9 (X คือ เลข10 แบบโรมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องของบริษัท แอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นงานประเภทกราฟิก และศิลปะเป็นหลัก ทั้งนี้รูปแบบการทำงานแบบต่าง ๆ ของ MAC OS X จะสนับสนุนแบบ GCI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ WINDOWS ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของ  ระบบปฏิบัติการระบบนี้  มาพัฒนาเป็นของตนเองมากมายและเนื่องจากในปัจจุบันแนวคิดของจียูไอกำลังเป็นที่นิยม จึงมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ให้สามารถทำงานบนระบบเอกซ์วินโดวส์ (X Windows) ซึ่งเป็นระบบที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก และถือได้ว่า  ลินุกซ์เป็นยูนิกซ์ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพไม่สูงมาก เช่น เครื่องในตระกูล 80386 ได้ และต้องการหน่วยความจำเพียง 2 เมกะไบต์ในการทำงานบนสภาวะตัวอักษร (text mode) หรือ 64 เมกะไบต์ในการทำงานบนเอกซ์วินโดวส์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า

คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น

       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

 

อ้างอิง :

https://www.sites.google.com/a/ttc.ac.th/tuktang/gui-2/1-1

http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=93&Itemid=112

 

การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Networks

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)

ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล  (Protocol)

โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)

การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)

เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว

5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)

เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Communications Networking

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล

เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้น อาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสการ์ดใส่ไว้ใน เครื่องสำหรับเป็นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อ ระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ

การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)

การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

แบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

การส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้

1. การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)

การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์

2. การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)

การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น

3. การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)

การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน

มาตรฐานสากล  (International Standards)

เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารแบบต่าง ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้

1. ISO (The International Standards Organization)

เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layers)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ The International Standards Organization

2. CCITT (The Conseclitive Committee in International)

เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน v และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น  v29,v34 ส่วนมาจรฐาน x ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25 แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น

3. ANSI (The American National Standards Institute)

เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา ANSI ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและ ระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลข ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัล

4. IEE (The Institute of Electronic Engineers)

เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกา มาตรฐานจะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3 ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)

5. EIA (The Electronics Industries Association)

เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น

การผลิตของผู้ประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้

ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูล

การส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Analog Transmission

1. การส่งสัญญาณแบบอนาลอก(Analog Transmission)

การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป

2. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล(Digital Transmission)

การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์ (Repeater)

ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูงในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง และส่งได้ในระยะไกลด้วย สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ใน รูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางใน             การสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น

 รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล  (Transmission Code)

การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น  ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกัน

ข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วน ใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง

จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบของรหัส

รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary)  หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย B

ดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิทมาใช้ เช่น 6 บิท, 7 บิท หรือ 8 บิทแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code)

รหัสแอสกี (ASCll CODE)

รหัสแอสกี (ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for Information Interchange ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด 8 บิท โดยใช้ 7 บิทแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิทที่ 8 จะเป็นบิทตรวจสอบ (Parity Bit Check) รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5 เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิทแรกแทนตัวอักขระ แต่ละบิทจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1 ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96 อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ

รหัสโบคอต (Baudot Code)

รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิท สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิท ซึ่งไม่มีบิทตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์

รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)

รหัส EBVFIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Deximal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8 บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิทตรวจสอบ ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28 หรือ 256 ตัวอักษร ปัจจุบันรหัสเอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์

รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล

การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่งนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด  (Point to Point Line)

เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่(Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบวิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะดังรูปข้างต้น

2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด  (Multipoint or Multidrop)

เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้

การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัพเฟอร์  (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัพเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัพเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้

1. ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล

2. ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล

3. ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้

4. ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ

3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร  (Switched Network)

จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป

เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี 4 รูปแบบดังนี้

1. เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The Telephone NetworK)

2. เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The Telex/TWX Network)

3. เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง (package Switching Network)

4. เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์ ดิจิตอล (Specialized Digital Network)

หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้

1. การเชื่อมต่อด้องเป็นแบบจุดต่อจุด

2. ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

3. หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป

สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Coaxial

องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น

การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป

 สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)

สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอล

คุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว

สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบางสามารถ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสายสื่อสารกลางแบบโคแอกเชียลได้ดังต่อไปนี้

สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair)

สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิทต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ

1. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

2. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน  (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก

สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยทำจากแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้

สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก  (Fiber Optic)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สาย fiber optic

เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก

สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

โมเด็ม (MODEM)

MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง

 มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)

วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ง่ายที่สุดคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่ จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3

คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)

คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส

คอนโทรลเลอร์(Controller)

คอนโทรลเลอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนด วิธีการรับส่งข้อมูล มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์

ฮับ (HUB)

ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์ ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3

ฟรอนต์ – เอ็นโปรเซสเซอร์  FEP (Front-End Processor)

FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM) และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล

 อิมูเลเตอร์ (Emulator)

อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจาก โปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิ หรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้

เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2  เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น

บริดจ์ (Bridge)

เป็นอุปกรณ์ IWU (Inter Working Unit)  ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

เราเตอร์ (Router)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่ออมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์

รีพีตเตอร์ (Repeater)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง แต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น

เครือข่าย (Networks)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Networks

เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ

ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้

1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

2) เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล

3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ

4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ประเภทของเครือข่าย

1) จำแนกตามพื้นที่

• เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN)

เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2,000 ฟุต (โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี gateway ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกันได้

• เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN)

เครือข่ายเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน

• เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)

เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้งประเทศหรือทั้งทวีป WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม และไมโครเวฟ

2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ

• เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)

เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่าสายจะว่างในช่วงนี้ต้องการหรือไม่

• เครือข่ายเอกชน (Private Network)

เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการเสมอ

• เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม (Value-added Network-VAN)

เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ

• เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง (Virtual Private Network-VPN)

เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานเพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ

Network Topology

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Networks

คือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1) แบบดาว (Star Network)

เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้

2) แบบบัส (Bus Network)

เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน

3) แบบวงแหวน (Ring Network)

คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีก ตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง

นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ

รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย (Organizational Distributed Processing)

วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบ คือ

1.Terminal-to-Host Processing

2. File Server Processing

3. Client/Server

 

 

อ้างอิง https://chalad.wordpress.com/subject/31241-2/31241-lesson-3/

หาดทรายแก้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หาดทรายแก้ว

เดิม“หาดทรายแก้ว”มีชื่อเรียกว่า “หาดน้อย” ตั้งอยู่บริเวณอ่าวน้อย ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๑๑๖ ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้น ได้ตระหนักถึงการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็น การสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล รวมทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลในกองทัพเรือให้ดีขึ้น จึงได้สั่งการให้โรงเรียนชุมพล ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ดำเนินการสำรวจ และพัฒนาพื้นที่นี้เพื่อจัดเป็นสถานที่พักผ่อนให้กับกำลังพลของกองทัพเรือตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยให้มุ่งเน้นในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และพยายามรักษาสภาพ แวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดังเดิมมากที่สุด และจากการสนับสนุนของกองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของรัฐบาล ทำให้ในปัจจุบันหาดมีที่พักที่สวยงามเพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวมากขึ้น

ลักษณะทางธรรมชาติ

“หาดทรายแก้ว” มีความยาวประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร เป็นหาดทรายปนปะการัง ลักษณะเม็ดทรายละเอียดขาวอันเกิดจากการทับถมของทรายและปะการัง คล้าย หาดในฝั่งทะเลอันดามัน น้ำทะเลใสสะอาด มีพันธุ์ไม้ธรรมชาติขึ้นอยู่หลากหลายชนิด ภูมิประเทศรายรอบด้วย ภูเขา มีป่าละเมาะซึ่งยังคงสภาพสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบหลังหาดประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งพบมีร่องรอยของเตาเผาถ่านเก่าโบราณอยู่จำนวน ๘ เตา หาดทรายมีลักษณะไม่ลาดชัน พื้นท้องทะเลเป็นทรายปนปะการังและหาดหิน ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การ ท่องเที่ยว ดำน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ อีกแห่งหนึ่งในอำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หาดทรายแก้ว

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

หาดทรายแก้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กองทัพเรือ เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน โดยจะรักษาความสวยงามตามธรรมชาติไว้เป็นหลัก มีบริการ รถรับ – ส่ง (ไม่อนุญาติให้นำรถยนต์เข้าหาดในวันหยุดราชการ) มีบริการอุปกรณ์ท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เต็นท์ อุปกรณ์ดำน้ำ เรือคยัค อุปกรณ์พักผ่อนชายหาดต่าง ๆ มีร้านอาหาร เครื่องดื่ม และบริการอาบน้ำจืด เป็นต้น
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวสามารถมาพักผ่อนได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่บนชายฝั่งและมีช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยวที่สุด ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูหนาว ปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนธันวาคม เนื่องจากคลื่นลมไม่แรง อากาศไม่ร้อน
ข้อห้ามที่ต้องถือปฏิบัติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน
1. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย ขวดแก้ว เศษแก้ว ตามเส้นทางและชายหาดโดยเด็ดขาด
2. ไม่ก่อไฟ รวมทั้งหุงต้มและประกอบอาหารในพื้นที่
3. ไม่ตัดไม้ ไม่เก็บหินหรือทรายและปะการัง
4. ปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่หาดแนะนำโดยเคร่งครัด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หาดทรายแก้ว

สิ่งอำนวยความสะดวก

โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ได้ดำเนินการจัดพื้นที่ ให้เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยสร้าง สิ่งปลูกสร้างเท่าที่จำเป็น เช่น ห้องอาบน้ำจืด ที่พัก รวมทั้งจัดพื้นที่ราบบางส่วนเป็นที่กางเต็นท์ ให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยจะไม่ก่อสร้างอาคารถาวรขนาดใหญ่ การท่องเที่ยวหรือพักผ่อนจึงจำเป็นต้องรักษาระเบียบการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างตระหนักในคุณค่า ไม่ทำลายธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดต้นไม้ ไม่ก่อไฟ เป็นต้น สถานที่เพื่อบริการนักท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

ทะเลหมอกห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแห ง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำ ลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศไปเที่ยวชมความงามเป็นจำนวนมาก 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ และได้จัดตั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติห้วยนำดัง” เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81

ลักษณะภูมิประเทศ

   สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงที่สลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้และอยู่ในแนวเดียวกันกับเทือกเขาเชียงดาว ภูเขาต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีความสูงชันตั้งแต่ 500-1,962 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยแม่เย็น ห้วยแม่ฮี้ ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง ห้วยน้ำดัง เป็นต้น รวมกันไหลลงสู่แม่น้ำปาย แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง

ลักษณะภูมิอากาศ

ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ จะมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9 c
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 c

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

สภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา มีพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ยาง จำปีป่า ยมหอม มะม่วงป่า ยมป่า เสลา ดงดำ แดง ประดู่ ตะแบก ตีนนก งิ้วป่า สนสองใบ ไม้ก่อต่าง ๆ เต็ง รัง เป็นต้น
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวาง หมี เก้ง เลียงผา หมูป่า เสือ ชะมด ลิง พังพอน เม่น ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด ได้แก่ นกเปล้า นกแก้ว นกขุนทอง นกขมิ้น นกปรอท และ นกเหยี่ยว เป็นต้น
ห้วยน้ำดัง
แหล่งท่องเที่ยว

จุดชมวิวดอยช้าง อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร สามารถมองเห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อน ทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ได้ชัดเจน
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้านการท่องเที่ยว ที่จะชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ไพศาลในช่วงฤดูหนาว สภาพธรรมชาติอันสวยงามของจุดชมวิวนี้เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาวที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่ สวยงาม ทางเข้าแยกจากถนนสายแม่มาลัย-ปายหลักกิโลเมตรที่ 65 – 66 เป็นทางลูกรังเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร
น้ำตกแม่เย็น เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่เย็นหลวง ซึ่งจะไหลลงมาสู่แม่น้ำปายต่อไป สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูง มีน้ำไหลตลอดปี
– น้ำตกแม่ลาด ความสูงประมาณ 40-50 เมตร ตั้งอยู่ใน ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
– น้ำตกแม่หาด ความสูงประมาณ 40-50 เมตร มี 4 ชั้น ตั้งอยู่ใน ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
– น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย ความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากความสูง 3 – 4 ชั้น และสภาพโดยทั่ว ๆ ไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น
– โป่งน้ำร้อนท่าปาย เป็นบ่อน้ำร้อนที่เปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็นพรายฟอง อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 80 องศาเซลเซียส น้ำร้อนจะไหลรวมกันเป็นธารน้ำร้อนขยายเป็นบริเวณกว้างมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ใน ต.แม่ฮี้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
– โป่งน้ำร้อนโป่งเดือด น้ำพุร้อนขนาดใหญ่ จำนวน 3-4 บ่อ และยังมีบ่อเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 90-99 องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนจะพุ่งจากใต้ดินตลอดเวลา บางครั้งพุ่งสูงถึง 2 เมตร บริเวณนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ระยะทาง 1,550 เมตร และโป่งเดือดยังเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวทัวร์ป่าที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
โป่งร้อน อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ท้องที่ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางลูกรังเข้าไปโป่งร้อน โดยแยกเข้าทางบ้านแม่ปิง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพ ธรรมชาติของโป่งร้อนเป็นบ่อน้ำร้อนที่น้ำกำลังเดือดเป็นฟองและมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อย ๆ ทั่วบริเวณกว้าง บ่อน้ำร้อนแห่งนี้มีบ่อใหญ่ 2 บ่อ นอกจากนี้ลักษณะเป็น น้ำผุดบางจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส รอบ ๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก
ล่องแพลำน้ำแม่แตง สองฝั่งของลำน้ำแม่แตงยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และนกนานาชนิด จัดว่าเป็นสายน้ำที่มีบรรยากาศของการท่องเที่ยวที่ตื่นเต้นเร้าใจเต็มไปด้วยเกาะแก่งและ โขดหิน โดยเดินทางตามเส้นทางทัวร์ป่าจากน้ำพุร้อนโป่งเดือดจนถึงบ้านปางป่าคา (7กม.) หรือบ้านป่าข้าวหลาม (9 กม.) จากนั้นเริ่มล่องแพใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะถึงบ้านสบก๋ายซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการล่องแพ

บ้านพัก-บริการ
บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ

การเดินทาง

รถยนต์ โดยเดินทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย (อำเภอแม่แตง) ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (สายแม่-มาลัยปาย) จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือซึ่งมีป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าถึงบริเวณ ห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีกระยะประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมวิวดอยช้าง ถ้าเดินทางต่อไปอีกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 จากหลักกิโลเมตรที่ 66 ไปยังอำเภอแม่ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงบ้านแม่ปิง จะมีทางแยกขวามือเป็นทางของ รพช. หมายเลข มส. 11024 ถึงโป่งร้อน อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง

สถานที่ติดต่อ

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50300

ห้วยน้ำดัง
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้าน การท่องเที่ยว ที่จะชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชม พระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ในช่วงฤดูหนาวสภาพธรรมชาติที่สวยงามของจุดชมวิวนี้ เมื่อยืนอยู่ที่ บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมอง ไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขา อันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวง เชียงดาวที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพ ของทะเลหมอกที่สวยงาม ทางเข้าแยก จากถนนสายแม่มาลัย-ปาย ที่หลักกิโลเมตร 65-66 เป็นทางลูกรัง ประมาณ 6 กิโลเมตร
บรรยากาศพระอาทิตย์ตก แสงสีในยามเช้า
จุดชมวิวดอยช้าง อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 20 กิโลเมตร มีความสูง จาก ระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร สามารถมองเห็นทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ได้ชัดเจน และสภาพธรรมชาติของ ทิวเขาอันสลับซับซ้อนของดอยสามหมื่นและดอยสันห้วยรูทางทิศเหนือ ดอยหลวงเชียงดาวและ ดอยขุนแม่แมะ ทางทิศตะวันออก ดอยแม่ยะและดอยม่อนอังเกตุทางทิศใต้ ดอยแม่ยานและเมืองปายทางทิศตะวันตก ดอยช้าง ปกคลุมด้วยป่าดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกเขน นกปรอด ฯลฯ น้ำตกห้วยน้ำดังเป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย มีความสูงประมาณ50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากมีความสูง 3-4 ชั้น และสภาพโดยทั่วไปชุ่มชื้นไป ด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น
โป่งน้ำร้อน อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ท้องที่ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางเข้า โป่งร้อนเป็น ทางลูกรัง โดยแยกเข้าทางบ้านแม่ปิง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพธรรมชาติของโป่งร้อน เป็นบ่อน้ำร้อน เปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็นฟอง และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆ ทั่วบริเวณกว้าง บ่อน้ำร้อนแห่งนี้มีบ่อใหญ่ 2 บ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุด และรอบๆโป่งร้อนเป็นต้น สักที่สมบูรณ์มาก ความร้อนของน้ำประมาณ 80 องศาเซลเซียส

การเดินทางไปห้วยน้ำดัง
1.รถยนต์ส่วนตัว การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทาง ประมาณ 37 กิโลเมตร ถึงตลาดแม่มาลัย อ.แม่แตง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 สายเชียงใหม่-ปาย อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจอุทยานฯ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
2. รถโดยสารสารธารณะ จากสถานีขนส่งเชียงใหม่ สายเชียงใหม่-ปาย อัตราค่าโดยสาร 40 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ลงหน้าปากทางเข้าห้วยน้ำดัง หน้าบริเวณปากทางเข้าไม่มีรถโดยสารสารธารณะคอยให้บริการ นักท่องเที่ยว อาจติดต่อรถของเจ้าหน้าที่ไปส่ง(เสียค่าบริการแล้วแต่ตกลง) หรืออาศัยโบกรถของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เที่ยวที่นี่ก็ได้

 

แฟชั่นการแต่งกายสมัย รัชกาลที่ 6-ปัจจุบัน

รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย สมัย ร 6

ในสมัยนี้ การติดต่อกับประเทศตะวันตกได้ สืบเนื่องมากจากรัชกาลก่อน ๆความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ จึงค่อนข้างไปทางตะวันตกมากขึ้นขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้บรรยายถึงความเจริญในยุคนี้ ว่าความเจริญของบ้านเมืองทั่วไป เริ่มเป็นสมัยใหม่ขึ้นตั้งแต่เริ่มรัชสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ถนนหนทางส่วนมากเรียบร้อยขึ้นและบางสายเริ่มลาดยางแอสแฟลต์ เรือนไทยที่เคยมีตามถนนทั่วๆ ไปกลายเป็นตึกแถว 2 ชั้น 3 ชั้น บ้านไทยกลายเป็นบ้านตึกทรวดทรงค่อนไปทางฝรั่ง ร้านค้ามีมาก รถยนต์มีมากขึ้น รถไอ รถราง รถม้า รถเจ๊กยังคงใชักันมาก ทั่วไป ผู้คนพลเมืองหนาตาขึ้น ถนนไม่โล่ง

การแต่งของหญิงในสมัยรัชกาลที่ 6

เมื่อได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปตามอารยประเทศในด้านต่าง ๆ แล้วในด้านการแต่งกายก็ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

การแต่งกายของสตรีระยะแรก ยังคงนุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้อยังนิยมใช้ลูกไม้ประดับอยู่ คอลึกกว่าเดิมแขนยาวเสมอข้อศอกแต่แขนเสื้อไม่พอง เหมือนแบบสมัยรัชกาลที่ 5มีผ้าคาดเอวสีดำ มีผ้าสไบพาดไหล่รวบตอนหัวไหล่ติดด้วยเข็มกลัดรูปดอกไม้
สาวผ้าสไบดังกล่าวรวบไว้ตรงข้างลำตัว สวมถุงเท้ายาว รองเท้าส้นสูง


ขุนนางและภรรยาชาวไทย้อ

ต่อมาเริ่มนุ่งซิ่นตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ(ตามปกติผ้าซิ่นใช้กันทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งนุ่งกันเป็นประเพณี มักเป็นผ้าซิ่นด้าน แต่ในกรุงเทพฯ ไม่นิยมนุ่งกันเลย จะนุ่งกันแต่โจงกระเบน เมื่อเริ่มนุ่งผ้าซิ่นนั้น ผ้าซิ่นจะเป็นพวกซิ่นไหมและซิ่นเชิงทอด้วยเส้นเงิน เส้นทอง)

เกิดเสื้อแบบใหม่ ๆ สำหรับใส่เข้าชุดกับผ้าซิ่นขึ้น การสะพายแพรไม่เป็นที่นิยมกันต่อไป นอกจากสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์จะแต่งกายเต็มยศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ยังคงใช้แพรปักตราจุลจอมเกล้าสะพายอยู่เหมือนเดิม (การสะพายแพรยกเลิกในรัชกาลที่ 7 )


สตรีอีสานชั้นสูง สวมเสื้อทรงหมูแฮม ห่มสไบจีบ นุ่งซิ่นมัดหมี่ยาวกรอมเท้า

ต่อมาในปี พ.ศ.2463 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงอภิเษกสมรส ได้โปรดให้สตรีในราชสำนักไว้ผมยาวเกล้ามวยหรือไว้ผมบ๊อบ ตามแบบตะวันตก ซึ่งสมัยนั้นใช้เครื่องประดับคาดรอบศีรษะด้วย การแต่งกายตามพระราชนิยมจึงได้แพร่หลายออกสู่ประชาชน สตรีไทยจึงนิยมไว้ผมยาวกันอย่างแพร่หลาย แต่บางคนก็นิยมตัดสั้นแบบที่เรียว่า ทรงซิงเกิ้ล ยกเว้นคนแก่ยังนิยมนุ่งโจงกระเบน และไว้ผมทรงดอกกระทุ่มและผมทัดต่อไปตามเดิม

ในระยะแรก  การแต่งกายไม่นิยมใช้เครื่องประดับมากนัก ต่อมานิยมเครื่องประดับที่เลียนแบบตะวันตก เครื่องสำอางนิยมใช้ของตะวันตกกันมากขึ้น ทางด้านการแต่งกายของชายนั้น ข้าราชการยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนสวมเสื้อราชปะแตน ตัดผมแบบยุโรป สวมถุงเท้า รองเท้าเช่นเดียวกับรัชกาลที่ 5 ในระยะต่อมาจึงนิยมกางเกงแพรสี

สตรีอีสานชั้นสูง สวมเสื้อทรงหมูแฮม ห่มสไบจีบ นุ่งซิ่นมัดหมี่ยาวกรอมเท้า เป็นลักษณะการแต่งกายตามแบบประเพณีที่เป็นแบบฉบับของผู้ดีอีสาน แฟชั่นไหล่ตั้งมาแล้ว ด้านซ้ายมือ

รัชกาลที่ 7 – ปัจจุบัน (พ.ศ. 2468-ปัจจุบัน)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย สมัย ร 7

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การแต่งกายคล้ายชาวตะวันตกมากขึ้น ซิ่นที่นุ่งยาวเปลี่ยนเป็นผ้าถุงสำเร็จ

กล่าวคือ เย็บผ้าถุงให้พอดีกับเอวโดยไม่ต้องคาดเข็มขัด สวมเสื้อหลวมไม่เข้ารูป ตัวยาว แขนสั้นหรือไม่มีแขนตกแต่งด้วยโบและระบายเหมือนฝรั่ง เลิกสะพายแพรปัก ใส่สายสร้อยและตุ้มหูยาวแบบต่าง ๆ สวมกำไล ส่วนผมปล่อยยาวแต่ไม่ประบ่า และเริ่มนิยมดัดเป็นลอน ทั้งนี้เพราะคนไทยในช่วงนี้ได้มีโอกาสไปศึกษายังต่างประเทศมากขึ้น จึงนำเอาอารยธรรมการแต่งกายเข้ามาด้วย ประกอบกับภาพยนตร์ฝรั่ง โดยเฉพาะภาพยนตร์อเมริกันกำลังเฟื่องฟูมากในสมัยต้นรัชกาลที่ 7 และได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถมีอิทธิพลในด้านนำแฟชั่นมาสู่ประชาชนคนไทย ด้วยการที่สตรีหันมานุ่งกระโปรงกันบ้างประปราย แต่นุ่งกันในเฉพาะบางพวกบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ในวงสังคมชั้นสูง พวกข้าราชการหรือผู้ที่ชอบแต่งตามแฟชั่น

ในราวปี พ.ศ. 2474 สตรีไทยปฏิวัติเครื่องแต่งกายให้ทัดเทียมกับชาวยุโรปอีก คือ จากถุงสำเร็จซึ่งปฏิวัติมาจากผ้าซิ่น ก็ได้เปลี่ยนเป็นกระโปรง 4 ตะเข็บ 6 ตะเข็บ มีผู้เล่ากันว่าข้าราชการหญิงในกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตัดใช้ก่อนคนอื่น ๆ แล้วหลังจากนั้นเครื่องแต่งกายของสตรีไทยก็ได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ”

ส่วนการแต่งกายของชายที่เป็นข้าราชการ ตลอดจนคนในสังคมชั้นสูงโดยทั่วไป ยังนิยมนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน สวมถุงเท้า รองเท้า สวมหมวกสักหลาดมีปีกหรือหมวกกะโล่ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายปกติ สำหรับไปในงานพิธีหรืองานราชการโดยทั่วไป เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ จึงจะใส่เสื้อคอแบะ ผู้เนกไท นุ่งกางเกงแบบชาว ตะวันตก

ส่วนราษฎรทั่วไปยังคงนุ่งโจงกระเบนหรือสวมกางเกงแพร สวมเสื้อธรรมดา และไม่นิยมสวมรองเท้าอยู่ต่อไปตามเดิม
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลเห็นว่าการนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตนอันเป็น เครื่องแต่งกายตามปกติ หรือในงานพิธีของข้าราชการและสุภาพบุรุษโดยทั่วไปไปนั้นล้าสมัย จึงประกาศให้นุ่งกางเกงขายาวแทน แต่ยังไม่เป็นบังคับทีเดียว ยังผ่อนผันให้นุ่งฟ้าม่วงได้บ้าง

จนปี พ.ศ. 2487 ได้ตราพระราช บัญญัติการ แต่งกายข้าราชการพลเรือน โดยให้เลิกนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนโดยเด็ดขาด กำหนดเครื่องแบบการแต่งกาย ข้าราชการ ให้เป็นไปตามแบบสากล

ราษฎรทั่วไปเมื่อเห็นข้าราชการนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงก็ทำตามอย่างกัน ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนิยมแต่งแบบสากลกันมาจนปัจจุบัน ในระยะนี้ไม่นิยมสวมหมวก จนกระทั่งถูกบังคับให้สวมใน  สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เมื่อรัฐบาลชุดนี้หมดอำนาจ การบังคับให้สวมหมวกก็ล้มเลิกไปโดยปริยาย การแต่งกายได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พ.ศ.2481-2487) ได้ม่งส่งเสริมวัฒนธรรมอย่างขนานใหญ่ เป็นจุดของการสร้างชาติในด้านต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมากมายหลายอย่าง
โดยพยายามให้วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติ มีการออกพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายของชาวไทยหลายฉบับ ตลอดจนคำแนะนำในด้านการแต่งกายรวมทั้งการประกาศห้ามผู้แต่งกายไม่สมควรปรากฏตัวในที่สาธารณะ ดังเช่น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกาย ของประชาชนชาวไทย

แม้ว่าจะมีการนุ่งกระโปรงกันบ้างประปราย แต่ส่วนมากก็ยังนิยมนุ่งโจงกระเบนกันอยู่ รัฐบาลจึงได้วิงวอนให้สตรีไทยเปลี่ยนแปลงการแต่งกายให้สมกับเป็นอารยประเทศโดย ให้สตรีไทยทุกคนไว้ผมยาวตามประเพณีนิยมสมัยโบราณหรือตามสมัยนิยมในขณะนั้น เลิกนุ่งผ้าโจงกระเบน และเลิกใช้ผ้าคาดอก หรือเปลือยกายท่อนบน ให้เปลี่ยนมาใช้ผ้าถุงอย่างสมัยโบราณหรือสมัยนิยมขณะนั้นและใส่เสื้อแทน ต่อมาได้ขอร้องให้สตรีไทยสวมหมวก นุ่งกระโปรงและสวมรองเท้า

การแต่งกายแบบสากลเป็นที่นิยมในหมู่ข้าราชการอยู่แล้ว การนุ่งผ้าม่วงกำลังเสื่อมความนิยม เพราะยุ่งยากสิ้นเปลืองและไม่สะดวก แต่ข้าราชการ และประชาชนโดยทั่วไปยังคงนิยมนุ่งกางเกงแพรดอกสีต่าง ๆ ออกนอกบ้านอยู่
จึงได้ประกาศชี้แจงให้คำนึงถึงเกียรติของชาติ ไม่แต่งกายตามสบาย และชักชวนให้เลิกนุ่งกางเกงแพร โดยอ้างว่าเป็นวัฒนธรรมของจีนอีกด้วย รัฐบาลได้พยายามชี้ให้ประชาชนเห็นว่าการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย จะมีส่วนช่วยรัฐบาลในการส่งสริม วัฒนธรรมและสร้างชาติ

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับยุคฟื้นฟู “ชุดไทยพระราชนิยม”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดไทยพระราชนิยม

โดยทั่วไปนิยมแต่งกายแบบสากลกันแทบทั้งสิ้น การแต่งกายแบบไทยของสตรี ได้วิวัฒนาการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตามพระราชนิยมของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และได้ชื่อว่าเป็นแบบฉบับของเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่รู้จักกันทั่วโลก ในนาม ชุดไทยพระราชนิยม ซึ่งมีแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ไทยเรือนต้น ใช้ผ้าฝ้ายหรือฝ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงซิ่นยาวจรดข้อเท้า ป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วซิ่นหรือเชิงซิ่น จะตัดกับซิ่น หรือสีเดียวกันก็ได้ เสื้อคนละท่อนกับซิ่น แขนสามส่วน กว้างพอสบาย ผ่าอกกระดุม 5 เม็ด คอกลมตื้นไม่มีขอบตั้งที่คอ เครื่องประดับตาม สมควร ใช้ในโอกาสปกติ (เป็นชุดไทยแบบลำลอง) และต้องการความสบาย เช่น งานกฐินเที่ยวเรือ งานทำบุญวันสำคัญทางศาสนา ข้อสำคัญต้องเลือกผ้าที่ใช้ตัดให้เหมาะกับเวลาและสถานที่

2. ไทยจิตรลดา ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิง หรือผ้าทอยกดอกทั้งตัวก็ได้ ตัดเป็นซิ่นยาว ป้ายหน้าเสื้อคนละท่อนกับซิ่น คอกลมมีคอตั้งน้อย ๆ ผ่าอก แขนยาว ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานพระราชพิธีต่าง ๆ หรืองานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุขของประเทศที่มาเยือนเป็นทางการที่สนามบินดอนเมือง ไม่ต้องประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้มากน้อยเหมาะสมกับโอกาสที่แต่ง

3. ไทยอมรินทร์ แบบเหมือนไทยจิตรลดาต่างกันที่ใช้ผ้าและเครื่องประดับ หรูหรากว่าไทยจิตรลดาเพราะเป็นชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ผ้ายกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อคนละท่อนกับซิ่น ไม่มีเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าและเครื่องประดับ ที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง รับเสด็จ ไปดูละครตอนค่ำ และเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนาม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือใช้ในโอกาสพิเศษที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศหรือครึ่งยศ เช่น ในงานพระราชพิธี หรืองานสโมสรสันนิบาต

4. ไทยบรมพิมาน คือชุดไทยพิธีตอนค่ำ ใช้ผ้ายกไหมหรือยกทองมีเชิง หรือยกทองทั้งตัวก็ได้ตัดติดกันกับเสื้อ ซิ่นจีบหน้ามีชายพก ยาวจรดข้อเท้า ใช้เข็มขัดไทยคาด เสื้อคอกลม ปกตั้ง ผ่าด้านหลังหรือด้านหน้าก็ได้ แขนยาว ใช้เครื่องประดับงดงามพอสมควร เหมาะสำหรับงานพิธีเต็มยศและครึ่งยศ เช่น งานอุทยานสโมสร งานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ หรือเป็นชุดเจ้าสาว

5. ไทยจักรี หรือชุดไทยสไบ นุ่งผ้ามีเชิงหรือยกทั้งตัว ยกจีบข้างหน้า มีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาด ท่อนบนเป็นสไบจะเย็บติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกัน หรือจะมีสไบห่ม ต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลัง ยาวตามที่เห็นสมควร (ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า การเย็บและรูปทรงของผู้สวม) ใช้เครื่องประดับให้งดงามตามโอกาสในเวลากลางคืน ชุดนี้ใช้ในโอกาสพิเศษที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศสำหรับอากาศที่ไม่เย็น

6. ไทยจักรพรรดิ ใช้ซิ่นไหมหรือยกทองจีบหน้ามีชายพก เอวจีบ ใช้เข็มขัดไทยคาด ห่มแพรจีบแบบไทย สีตัดกับผ้านุ่งเป็นชั้นที่หนึ่งก่อน แล้วจึงใช้สไบปักอีกชั้นหนึ่ง (มีสร้อยตัวด้วย) ใช้ในโอกาสพิเศษที่กำหนดให้แต่งกายแบบเต็มยศ เช่นเดียวกับชุดไทยจักรี

7. ไทยดุสิต ใช้ผ้ายกไหมหรือยกทอง จีบหน้ามีชายพก จีบเอว ใช้เข็มขัดไทยคาด เช่นเดียวกับไทยจักรพรรดิ ต่างกันที่ตัวเสื้อคือใช้เสื้อคอกว้าง (คอด้านหน้าและหลัง คว้านต่ำเล็กน้อย ไม่มีแขน เป็นเสื้อผ่าหลัง และปักเป็นลวดลายด้วยไข่มุก ลูกปัดหรือเลื่อมใช้ในงานพระราชพิธีที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศ บางท่านเรียกการแต่งกายชุดนี้ว่าชุดไทยสุโขทัย

8. ไทยศิวาลัย ใช้ซิ่นไหมหรือยกทอง มีชายพก ตัวเสื้อใช้ผ้าสีทองเหมือนสีเนื้อ แขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าหลัง เย็บติดกับผ้าซิ่นคล้ายแบบไทยบรมพิมาน แต่ห่มผ้า ปักลายไทยแบบไทยจักรพรรดิ โดยไม่ต้องมีแพรจีบรองพื้นก่อน ใช้ในโอกาสพิเศษ ที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศ

9. ไทยประยุกต์ เป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดไทยจักรี นิยมใส่กันมาก ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นจีบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัดไทย ท่อนบนเป็นเสื้อคอกลม คอกว้าง หรือคอแหลม ไม่มีแขนเหมือนกับเสื้อราตรีปกติ ตัวเสื้อนิยมปักเลื่อม ลูกปัด ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ ใช้ในงานตรีสโมสรหรือสำหรับเจ้าสาวสวมตอนเลี้ยงกลางคืนก็ได้ และได้มีการคิดค้นแบบเสื้อเสื้อของชายไทยขึ้นเรียกว่า ชุดพระราชทาน ผู้ที่แต่งเป็นคนแรก คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ลักษณะเป็นเสื้อคอตั้งเหมือนเสื้อราชปะแตน ไม่มีปก ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย ผ่าอกตลอด มีสาบกว้างพอประมาณ 3.5 ซม. ติดกระดุม 5 เม็ด ขลิบรอบคอ สาบอก ขอบแขน และปากกระเป๋า มีกระเป๋าอยู่ด้านใน 2 ใบ (ด้านล่าง)
กระเป๋าบนจะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีให้เป็นกระเป๋าเจาะข้างซ้าย 1 กระเป๋า ชายเสื้ออาจผ่ากันตึงเส้นรอยตัดต่อมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีให้เดินจักรทับตะเข็บ แบบเสื้อจะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ แต่ใช้ในโอกาสต่างกัน กล่าวคือ พระราชทานแขนสั้นเสื้อใช้สีเรียบจาง หรือมีลวดลายสุภาพ ใช้ในโอกาสธรรมดาทั่วไป ปฏิบัติงาน หรือในพิธีการเวลากลางวัน และอาจใช้สีเข้มในงานพิธีการเวลากลางคืน

ส่วนชุดแขนยาว เสื้อใช้สีเรียบจาง หรือมีลวดลายสุภาพ ใช้ในพิธีเวลากลางวัน และอาจใช้สีเข้มในพิธีการเวลากลางคืน ถ้ามีผ้าคาดเอวด้วย ควรผูกเงื่อนแน่นทางซ้ายมือของผู้สวม ใส่และใช้ในพิธีที่สำคัญมาก ๆ ถ้าไปในงานศพจะใช้เสื้อสีขาวแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ กางเกงสีดำ หรือจะเป็นสีขาวทั้งชุด หรือสีดำทั้งชุดก็ได้

เสื้อชุดพระราชทานนี้ใช้ควบคู่กับกางเกงแบบสากลนิยม สีสุภาพหรือสีเดียวกันกับเสื้อ โดยให้ใช้แทนชุดสากลนิยม หรือเสริมเพิ่มเติมจากชุดสากล นิยมได้ทุกโอกาส แต่มิใช่เป็นการทดแทนชุดสากลนิยมโดยสิ้นเชิง เสื้อชุดไทยพระราชทานนิยมนี้ในวงการแฟชั่นชาย ยุคสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์อย่างมาก จากนั้นก็คลี่คลาย มาแต่งสากลนิยมแบบฝรั่งทั้งในหมู่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และนักธุรกิจ ตามที่พบเห็นทั่วไปทุกวันนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดไทย

ขณะที่ชุดไทยพระราชนิยมนั้นยังเป็นชุดประจำชาติที่สตรีทั่วไปนิยมสวม ในงานรัฐพิธีและโอกาสสำคัญต่าง ๆ อยู่ การแต่งกายตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่ามีมาตรฐานอย่างใดเพราะได้มีวิวัฒนาการผสมผสาน ระหว่างของเก่ากับของใหม่เข้าด้วยกันมาโดยตลอด

ที่มา : http://www.designer.co.th/10442

 

การแต่งกายสมัย รัชกาลที่ 5

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย สมัย ร 5

รัชกาลที่5 (พ.ศ. 2411-2453)

ในรัชกาลนี้ไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น ทรงโปรดให้มีการประกาศสวมเสื้อเข้าเฝ้า แต่ในเวลาปกติแล้ว บรรดาขุนนาง เจ้านาย และเสนาบดียังนุ่งผ้าผืนเดียว ไม่สวมเสื้อ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง ราชทูตอังกฤษเล่าเรื่องที่เข้ามากรุงเทพฯ ภายหลังมาอีก 3 ปี ว่า เมื่อ ไปหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่ครั้งแรก จัดรับอย่างเต็มยศ เห็นสมเด็จพระยาองค์ใหญ่แต่งตัวนุ่งจีบ คาดเข็มขัดเพชรแต่ตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ขุนนางผู้น้อยซึ่งเป็นบริวารอยู่ในที่นั้นก็คงไม่สวมเสื้อเหมือนกันทั้งนั้น เพราะถือว่าต้องสวมเสื้อในเวลาเข้าเฝ้า เวลาอื่นยังมีเสรีภาพที่ จะรับแขกหรือไปไหนตัวเปล่าได้เหมือนอย่างเดิม”

การที่ไม่นิยมสวมเสื้อเพราะเสื้อผ้าหายากมีราคาแพงและทำความสะอาดลำบาก เนื่องจากไม่มีสบู่ใช้อย่างปัจจุบัน การทำความสะอาดต้องใช้ขี้เถ้ามาละลายน้ำซึ่งเรียกว่า ด่าง และใช้น้ำนี้มาซักผ้า น้ำด่างนี้ยังกดเสื้อผ้าให้เปื่อย ขาดง่าย ไม่ดีเหมือนใช้สบู่อย่างสมัยต่อมา ระหว่างสงครามโลกสบู่หายาก จึงได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ผงซักฟอกเข้ามาแทนที่และเป็นที่นิยมใช้กันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า การแต่กายดังกล่าวย่อมเป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นเวลาที่จะเสด็จประพาสต่างประเทศ (สิงคโปร์และชวา) เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2413 จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายตามแบบฝรั่ง เพื่อแสดงความเป็นอารยประเทศ ทรงกำหนดเครื่องแบบทหารและพลเรือน ฝ่ายทหารมีทั้งเครื่องแบบเต็มยศและเครื่องแบบปกติ ฝ่ายพลเรือนมีแต่เครื่องแบบเต็มยศเท่านั้น

เครื่องแบบของฝ่ายพลเรือนเป็นเสื้อแพรสีกรมท่า ปักทองที่คอและข้อมือ ในเวลาปกติใช้เสื้อคอเปิด ผูกผ้าผูกคออย่าฝรั่ง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนนุ่ง ผ้าม่วงสีกรม ท่าและกำหนดให้สวมถุงเท้า รองเท้าด้วย สำหรับผ้าม่วงสีกรมท่านั้นใช้เป็นเครื่องแบบและนุ่งในเวลามีการงานแต่ครั้งนั้น

เครื่องแต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 นี้ได้ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากล ของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก แต่หลังจากเสด็จประพาสอินเดีย-พม่า ในปี พ.ศ.2414 แล้ว ได้โปรดให้ดัดแปลง เป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5 เม็ด เรียกว่า “เสื้อราชแปตแตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่า
“ไม้ถือ”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาว แทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาว และสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้าง ในตอนปลายรัชกาล การแต่งกายของชายทั่วไป ยังคงนิยมแต่งกายตามสบาย เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลก่อน ๆ คือ นุ่งผ้าลอยชาย มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรก็ได้แต่ะบ่าคลุมไหลหรือคาดพุง ซึ่งคงจะเป็นประเพณีการแต่งกายของคนไทยตามปกติมาแต่โบราณและคาดพุง ไม่นิยมใช้ผ้าแตะบ่า การนุ่งลอยชาย คือ การเอาผ้าทั้งผืนนั้นมาโอบหลังกะให้ชายผ้าข้างหน้าเท่ากัน แล้วขมวดชายพก ค่อนข้างใหญ่เหน็บแน่นติดตัว แล้วทิ้งชายห้อยลงไปข้างหน้า

การนุ่งผ้าลอยชายนี้ บางคนชอบนุ่งใต้สะดือ ชายพกที่ค่อนข้างใหญ่นี้เพื่อเก็บกล่องหรือหีบบุหรี่ที่ตนชอบ ส่วนผ้าคาดพุงไม่ว่าจะเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าส่านหรือผ้าอะไรผูกเป็นโบเงื่อนกระทก ไว้ข้างหน้า ทิ้งชายผ้าลงมาเล็กน้อย

ผู้ชายบางคนแต่งตัวแบบนักเลงโต กล่าวคือ นุ่งกางเกงชั้นใน คาดกระเป๋าคาด ที่เอวทับกางเกงใน นุ่งผ้าโสร่งทับนอก (โสร่งไหมตัวใหญ่ ๆ หรือผ้าตาโก้งหรือตาโถงที่พวกต้องซู่นำมาขายหน้าเทศกาลพระพุทธบาทสระบุรี) นุ่งเสร็จมักจะหยิบผ้านุ่งตรงสะโพกทั้งสองข้างยกขึ้นไปเล็กน้อยไปเหน็บไว้ที่เอว เรียกว่า “นุ่งหยักรั้ง” มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรพันคอ ชายหนึ่งอยู่ข้างหน้า ตวัดอีกชายหนึ่งไปข้างหลัง หากจะซื้อของก็เลิกผ้าโสร่งขึ้นหยิบเงินในกระเป๋าคาด ในสมัยนั้นถือเป็นของธรรมดา การนุ่งผ้าลอยชายนี้คงจะมีอยู่เพียงปลายรัชกาลที่ 5 และคงจะมีบ้างประปรายในรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ได้หมดไปทีเดียว ยังมีอยู่เรื่อยมา แม้กระทั่งปัจจุบันการไว้ผมของชายไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้ผมยาวอย่างฝรั่ง มีทั้งหวีแสกและหวีเสย เลิกไว้ผมมหาดไทย


(เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ บุนนาค) ผู้นำเรื่องการแต่งกาย สมัยรัชกาลที่ 5)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำการไว้ผมยาวทั้งศีรษะ    ทั้งมีพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพารไว้ผมยาวได้ตามแบบฝรั่งตั้งแต่นั้นมา แม้จะโปรดให้เลิกไว้ผมมหาดไทยแล้ก็ตามยัง มีข้าราชการผู้ใหญ่บางท่านนิยมผมมหาดไทยอยู่ ดังเช่นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ให้ช่างตัดผมสั้นรอบศีรษะ ไว้ข้างบนยาวคล้ายทรงผมมหาดไทย เรียกว่า “ผมรองทรง”

เครื่องแต่งกายของสตรีไทยในสมัยนี้ได้ดัดแปลงแก้ไขหลายครั้ง แต่เดิมในราชสำนักยังคงนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบแพรเฉียงแนบกับตัวเปล่า

ต่อมาในปี พ.ศ.2416 โปรดให้เปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายใหม่ให้สตรีนุ่งผ้ายกจีบ ห่มตาด หรือห่มสไบปักเฉพาะเวลาเต็มยศใหญ่เท่านั้น ในโอกาสทั่วไป นุ่งผ้าโจงกระเบนสวมเสื้อพอดีตัว ผ่าอก คอกลมหรือคอตั้งเตี้ย ๆ ปลายแขนแคบยาวถึงข้อมือ ชายเสื้อยาวเพียงเอว เรียกว่า“เสื้อกระบอก” แล้วห่มแพรจีบตามขวางสไบเฉียงทับบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง แพรจีบที่ใช้ห่มสไบเฉียงทับเสื้อนี้ ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นแพรสะพาย
ซึ่งใช้แพรชนิด ที่จีบตามขวางเอวนั้นมาจีบตามยาวอีกครั้งหนึ่ง จนเหลือเป็นผืนแคบตรึงให้เหมาะ แล้วสะพายมาบนบ่าซ้าย รวบชายแพรทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกันทางด้านขวา ของเอวคล้าย ๆ สวมสายสะพาย และสวมรองเท้าบู๊ตโดยมีถุงเท้าหุ้มตลอดน่องด้วย

ในปี พ.ศ.2440 หลังจากเสด็จกลับจากยุโรปได้ทรงนำแบบอย่างการแต่งกายของชาวยุโรป มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทย สตรีในครั้งนั้นจึงเริ่มใช้เสื้อตัดตามแบบยุโรป สวมถุงเท้า แต่ยังคงนุ่งโจงกระเบนและสะพายแพรอยู่ แบบเสื้อที่นิยมกันมากในสมัยนี้ก็คือ เสื้อแขนพองแบบฝรั่ง คอตั้ง แขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม จึงเรียกว่า “เสื้อหมูแฮม” มีผ้าห่มหรือแพรสไปเฉียงแล้วแต่โอกาส ทับตัวเสื้ออีกทีหนึ่ง

ปลายรัชกาลที่ 5 สตรีนุ่งโจงกระเบนกันเกือบทั้งหมด แต่ตัวเสื้อนิยมใช้ผ้าแพร ไหม ผ้าลูกไม้ ตัดแบบชาวตะวันตก คอตั้งสูง แขนยาว ฟูพองหรือระบายลูกไม้เป็นชั้น ๆ รอบแขนเสื้อ บางทีเอวเสื้อจีบเข้ารูป บางทีคาดเข็มขัด สวมถุงเท้ายาว รองเท้าส้นสูง หญิงชาวบ้านทั่วไปยังคงนุ่งโจงกระเบนเป็นประจำและห่มผ้าแถบอยู่กับบ้านเช่นเคย ไม่นุ่งจีบ ยกเว้นคนชั้นสูงจะมีงานมงคลอะไรใหญ่เป็นพิเศษก็อาจแต่งบ้างบางราย (การนุ่งจีบมักจะนุ่งแต่คนชั้นสูงเท่านั้น)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย สมัย ร 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลิกผมปีกไว้ผมยาวแทน โดยให้เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าจอมมารดาแพ พระสนมเอก เป็นผู้นำคนแรก ด้วยการไว้ผมยาวประบ่า ต่อมาพวกเจ้านายฝ่ายในและหม่อมห้ามได้ทำตาม แต่บางคนไว้ผมตัดทรงดอกกระทุ่ม จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชน ต่อมา ทำให้ไว้ผมยาวประบ่าบ้าง ไว้ผมทรงดอกกระทุ่มบ้าง แต่ส่วนใหญ่นิยมผมทรงดอกกระทุ่ม สตรีสมัยนั้นเริ่มใช้เครื่องสำอางอย่างชาวตะวันตกบ้าง นิยมใช้เครื่องประดับสร้อยข้อมือ สร้อยคอ สร้อยตัว (สร้อยเฉลียงบ่า) แหวน กำไล ใส่ตุ้มหูบ้าง แต่มักไม่ค่อยใส่กัน

เข็มขัดทอง เงิน นาก ถ้าเป็นคนชั้นสูงที่นุ่งจีบจะต้อง ใช้เข็มขัดคาด ก็มักจะใช้เข็มขัดทองทำ หัวมีลวดลายงดงามลงยาประดับเพชรพลอย การใช้เครื่องประดับของสตรีนั้นแตกต่างกัน ถ้าเป็นภรรยา บุตรหลานข้าราชการขุนนาง เวลาอยู่กับบ้านมักไม่ค่อยแต่งเครื่องประดับ จะมีแต่งบ้างเป็นพวกสร้อยข้อมือเล็ก ๆ สร้อยคอสายเล็ก ๆ ใส่แหวนบ้าง ตุ้มหูไม่ค่อยใส่กัน

แต่ถ้าเป็นหญิงชาวสวน นิยมใส่สร้อยข้อมือ สร้อยคอเส้นโตๆ ใส่แหวนเป็นประจำ ตุ้มหูมีใส่บ้างแต่ไม่นิยมกัน ถ้าเปรียบกับสมัยปัจจุบันก็คล้าย ๆ กับตู้ทองเคลื่อนที่ และเป็นธรรมเนียมสืบทอดมาจนปัจจุบัน ที่ชาวชนบทบางคน หรือผู้ที่มีความคิดอยากจะแต่งเพื่อโอ้อวด หรือ แสดงถึงความเป็นผู้มีฐานะ ยังคงนิยมแต่งอยู่ก็มี แต่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2525) ทองมีราคแพงมาก ทำให้มีการวิ่งราวชิงทรัพย์กันอยู่บ่อย ๆ คนแต่งเครื่องประดับมีค่าจึงลดน้อยลง แต่ก็เกิดเครื่องประดับ วิทยาศาสตร์ใช้แทน ทำให้ “ไม่รวยก็สวยได้”

เด็กหญิงในสมัยนี้ นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ไม่สวมเสื้อเวลาออกงาน จึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม สวมถุงเท้า รองเท้า เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว พองและทรงเครื่องประดับมาก ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว

ที่มา : http://www.designer.co.th/10442

 

 

 

อาหารประจำชาติ เวียดนาม

อาหารเวียดนามเป็นอาหารประจำชาติของชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาติอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นของหมักดองเช่นเดียวกัน เนื่องจากปูมหลังทางประวัติศาสตร์ที่เคยถูกจีนและฝรั่งเศสปกครอง จึงมีอิทธิพลของทั้งสองชาติปรากฏอยู่บ้าง นอกจากนั้นเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่ง ทำให้อาหารเวียดนามแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อาหารเวียดนามที่คนไทยรู้จักดีและเป็นเอกลักษณ์คือแหนมเนืองและขนมเบื้องญวน

อาหารคาว ของประเทศเวียดนาม

ก๋วยจั๊บญวน ข้าวเปียกเส้น

ก๋วยจั๊บญวน หรือ ข้าวเปียกเส้น เป็นอาหารเวียดนามที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย จะเห็นได้ว่าร้านก๋วยจั๊บญวนมีขายอยู่ในทุกจุดของชุมชนในประเทศไทย การทำก๋วยจั๊บญวนเคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่น้ำซุปทั้งหวานและเทคนิคการลวกเส้นให้กรอบ และสุก

ส่วนผสมสำหรับทำก๋วยจั๊บญวน

เส้นก๋วยจั๊บ 1 เพ็ค
หมูบด 1 ถ้วย
หอมใหญ่ 1 หัว
ซี่โครงหมูหั่นชิ้น 1 ถ้วย
พริกไทย 1 ช้อนชา
เกลือ 1 ช้อนชา
น้ำเปล่า 5 ถ้วย
น้ำปลา 1 ช้อนโต้ะ
พริกแห้งบด 1 ช้อนชา
หอมเจียว 1 ช้อนโต้ะ
ใบหอมซอย 1 ช้อนชา

วิธีทำก๋วยจั๊บญวน

1.ต้มน้ำซุปด้วย น้ำเปล่า ซี่โครงหมู หอมใหญ่ และ เกลือ ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง
2.เอาหอมใหญ่ออก และ ปั้นหมูบดเป้นก้อนและนำลงไปในซุปต้ม
3.ใส่เส้นก๋วยจั๊บลงไปต้มให้สุก
4.เสริฟใส่จาน ปรุงรสด้วย น้ำปลา และ โรยหน้าด้วย พริก พริกไทย ใบหอม และ หอมเจียว กับข้าวง่ายๆ

วิธีทำเฝ๋อ ก๋วยเตียว สูตรเวียดนาม อาหารเวียดนาม สูตรอาหารหารเวียดนาม เมนูอาหาร สูตรอาหารเวียดนาม ก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อ แนะนำทำอาหารเวียดนามสูตรก๋วยเตี๋ยว

เฝ๋อเนื้อ ก๋วยเตี๋ยว สูตรเวียดนาม


ส่วนประกอบทำน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อ
กระดูกข้อวัว 1 กก.
กระเทียมบุบ 2 ช้อนชา
พริกไทยบุบ 1 ช้อน
ชาขิงหั่นแว่น 1 หัว
รากผักชีบุบ 1 ช้อนโต้ะ
ซอสปรุงรส 4 ช้อนชา
เกลือ 1 ช้อนชา
น้ำตาล 1 ช้อนชา
หัวไชท้าวหั้น 1 หัว
น้ำเปล่า 2.5 ลิตร

วิธีทำน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อ

ตั้งหม้อต้มกระดูกวัว พร้อม ด้วย กระเทียม พริกไทย ขิง รากผักชี ซอสปรุงรส เกลือ น้ำตาล และหัวไชท้าว ต้มจนน้ำซุปออกรสประมาณ 1-2 ชั่วโมง

สูตรอาหารเวียดนาม ส่วนประกอบ เนื้อเปื่อยและวิธีทำ ก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อ

ต้ม เนื้้อน่องเอ็นลาย 1 กิโล ทั้งชิ้้นโดยเติมน้ำพอท่วมเนื้อ ต้มจนเกือบเปื่อยให้ปิดไฟ จากนั้นนำเนื้อออกมาหั่นเป็นชิ้น จากนั้น นำกลับไปต้มใหม่ โดยปรุงรสด้วย ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต้ะ เกลือ 1 ช้อนชา ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต้ะ และเคี่ยวต่อจนเนื้อเปื่อย

สูตรอาหารเวียดนาม ส่วนประกอบขณะจะปรุงเป็นก๋วยเตี๋ยว
(ก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อเส้นเล็กเนื้อวัวลวกหั่นบางๆพอคำ)

เนื้อเปื่อย
ลูกชิ้นเนื้อ
หอมหัวใหญ่หั่นบางๆ
ต้นหอมซอย
คื่นฉ่ายซอย
กระเทียมเจียว
มะนาวผ่าซีก
พริกขี้หนูอ่อนเผา
กะปิเผาผัก ประกอบด้วย ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว โหระพา มินท์ หอมเป ผักแพว ถั่วงอก

สูตรอาหารเวียดนาม วิธีปรุงก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวเฝ๋อเนื้อ

  1. ลวก เส้น และถั่วงอกสด หยิบชามใส่ก๋วยเตี๋ยว
  2. ตักน้ำซุป ใส่ชามโดยวางทับด้วย เนื้อวัวลวก เนื้อเปื่อย ลูกชิ้น วางลง ใส่มากน้อยตามใจ โรยต้นหอมซอย คื่นไฉ่ กระเทียมเจียว
  3. พร้อมผักเคียง และมีจานเล็กใส่กะปิเผา พริกอ่อนเผา มะนาวซีก และจัดให้มีเครื่องปรุงปกติ

 

อาหารคาว ของประเทศเวียดนาม       

ปอเปี๊ยะสดไส้กุ้ง

ส่วนผสม

  1. กุ้งต้มสุกหั่นเป็นชิ้น ประมาณ 1 ถ้วย (300 กรัม)
  2. อกไก่ต้มสุกหั่นสับ ประมาณ 1 ถ้วย (300 กรัม)
  3. มันกุ้งเคี่ยวให้สุก 1/2 ถ้วย (150 กรัม)
  4. เกลือ 2 ช้อน (20 กรัม)
  5. น้ำตาลทราย 2 ช้อน (10 กรัม)
  6. พริกไทย 1 ช้อน (10 กรัม)
  7. แผ่นยอหรือแผ่นปอเปี๊ยะ ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
  8. ใบสะระแหน่
  9. ใบโหระพา
  10. แครอทและหัวไชเท้าหั่นฝอย

วิธีทำ

  1. นำกุ้ง ไก่ มันกุ้งมาคลุกเคล้า เกลือ น้ำตาล และ พริกไทยให้เข้ากัน
  2. เสร็จแล้วนำแผ่นปอเปี๊ยะมาชุบน้ำเล็กน้อย เพื่อให้แผ่นแป้งนิ่ม แล้ววางลงบนเขียง
  3. นำกุ้ง ไก่ มันกุ้งที่คลุกแล้ววางบนแผ่นแป้ง ใส่ใบโหระพา ใบสาระแหน่ แครอท และหัวไชเท้า วางด้านบน
  4. ใช้แผ่นแป้งห่อม้วนไปกับเขียงจะออกมาเป็นท่อนๆ ใช้มีดคมตัดท่อนปอเปี๊ยะตามใจชอบ จัดใส่จาน ทานคู่กับน้ำจิ้มปอเปี๊ยะ

 

ที่มา : https://fudgechocolate.wordpress.com/page/2/

สัปดาห์วันวิทยาศาตร์

   “วิทยาศาสตร์” (Science) กันก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์

ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง“อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่อำเภอบ้านหว้ากอ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

     ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก โดย เซอร์แฮรี ออด ได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้”
       ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์
ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 
   นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม
   สำหรับ “อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง
“วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ

4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน

“คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2558” :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/27324

 

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย

    เนื่องจากในทุก ๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 จะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้า 2 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย


          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า “หอชัชวาลเวียงชัย” ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฎมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” แจ้งแก่ประชาชน

2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet)
เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401

ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่าง ๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า

“ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่าง ๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล”

3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์

” คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2558″ :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

สถามที่ท่องเที่ยวใน เกาหลีใต้ [ Seoul Korea ]

 

โซล (Seoul) เป็นเมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ ขึ้นชื่อเรื่องเป็นแหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย มีทั้งตลาดค้าส่ง แหล่งสินค้าแบรนด์เนมและแหล่งแฟชั่นสไตล์เกาหลีที่เป็นที่นิยมของแฟชั่นนิสต้าเมืองไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นโซลยังมีที่เที่ยวแนวฮิป ถนนศิลปะและวัฒนธรรม สถานที่เที่ยวแนวประวัติศาสตร์ สวนสนุกและแหล่งอาหารชั้นเลิศมากมาย อีกทั้งยังเป็นที่เที่ยวชมดอกไม้บานฤดูใบไม้ผลิ ที่ชมใบไม้แดง และที่เล่นหิมะยอดนิยม ภาษาที่ใช้ในโซล คือ ภาษาเกาหลี และหน่วยเงินที่ใช้ คือ เงินวอนเกาหลีใต้ (Won or KRW)

การเตรียมตัวเดินทาง

ฤดูกาลและสภาพอากาศ โซลมี 4 ฤดู โดยฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม) เป็นช่วงชมดอกไม้บาน ฤดูร้อน (ระหว่างปลายเดือนมิถุนายน-เดือนกันยายน) ก็จะเป็นช่วงที่มีเทศกาลหน้าร้อนหลายงาน อีกทั้งยังเป็นช่วงลดราคาสินค้ากลางปีอีกด้วย ช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ระหว่างเดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน) จะเป็นช่วงชมใบไม้แดง และฤดูหนาว (ระหว่างเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์) ก็เป็นช่วงเล่นสกี เล่นหิมะ และงานปีใหม่ แต่ทั้งนี้โซลก็สามารถเที่ยวได้ตลอด เพราะนอกจากจะมาชมธรรมชาติสวยงามในแต่ละช่วงของปีแล้ว โซลยังมีแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำระดับโลก มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และยังมีสวนสนุกอันน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคุณหนูๆ อีกด้วย เรียกได้ว่ามาเที่ยวโซลกันได้ทั้งครอบครัวในทุกฤดูกาลเลยทีเดียว

การเดินทางไปโซล มีบริการเที่ยวบินตรงและเที่ยวบินต่อไปยังโซลหลายเที่ยวบินต่อวันจากหลายสายการบิน ชั่วโมงบินตรงโดยประมาณอยู่ที่ราว 5 ชั่วโมงเศษๆ

หมู่บ้านบุกชอนฮานก (Bukchon Hanok Village)

ลีโบราณอันโด่งดังในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นที่อยู่ของขุนนางเก่าระดับสูง ตั้งอยู่ระหว่างพระราชวังเคียงบกกุง (Gyeongbokgung Palace) และพระราชวังชางดกกุง (Changdeokgung Palace) สภาพอาคารบ้านเรือนยังคงเป็นแบบเก่าที่อนุรักษ์ไว้ ในละแวกใกล้ๆ กันนั้นมีพิพิธภัณฑ์งานศิลปะของไก่แห่งกรุงโซล (Soul Museum of Chicken Art)

พระราชวังเคียงบกคุง (Gyeongbokgung Palace)

เป็นที่ประทับของกษัตริย์ในสมัยโบราณมีอายุกว่า 600 ปี ถือเป็นศูนย์รวมประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกาหลี เพราะในเขตพระราชวังนั้น ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อีกทั้งในละแวกเดียวกันก็ยังเป็นที่ตั้งของทำเนียบและบ้านพักของประธานาธิบดีเกาหลีด้วย

เขตเมียงดง (Myeong dong)

สถานที่ท่องเที่ยวเกาหลีอันดับต้นๆ หลักที่นักช้อปฯ ห้ามพลาด คนไทยมักเรียกกันติดปากว่า “ตลาดเมียงดง” เพราะเป็นแหล่งร้านค้าชั้นนำของกรุงโซล ซึ่งมีทั้งห้างสรรพสินค้าใหญ่ และร้านค้าแผงลอยรายรอบ เน้นขายสินค้าแบรนด์เนมในประเทศเป็นหลัก ถือว่าเป็นถนนแฟชั่นของเกาหลี และยังอุดมไปด้วยร้านอาหาร ร้านคาเฟ่มากมาย ตลาดเมียงดงแห่งนี้เป็นที่นิยมถึงขั้นมีการทำสถิติขึ้นมาว่า ทุกๆ วันจะมีนักช้อปปิ้งมาแวะเวียนมากว่า 1 ล้านคน

ตลาดนัมเดมุน (Namdaemun Market)

เป็นตลาดขายส่งขนาดใหญ่คล้ายๆ สำเพ็งบ้านเรา เป็นแหล่งค้าส่งของประเทศที่มีร้านค้าสารพัดประเภทกว่าพันร้าน และหากคุณเป็นนักต่อสินค้าตัวยง ขอให้รู้กันไว้ก่อนว่าตลาดค้าส่งแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่า “เป็นแหล่งปราบเซียนนักต่อรองสินค้าระดับพระกาฬ”

หอคอยกรุงโซล (N’ Seoul Tower)

เป็นจุดชมวิวหลักและเป็น 1 ใน 18 หอคอยสูงที่สุดของโลก กิจกรรมยอดนิยมจนเสมือนจะเป็นประเพณีของคู่รักที่มาเยือนหอคอยแห่งนี้ คือ “การคล้องกุญแจแห่งรัก” โดยคู่รักทั้งสองจะเขียนชื่อของตนไว้บนแม่กุญแจและทำการล็อคไว้กับรั้วเหล็ก แล้วทิ้งลูกกุญแจไปซะ โดยมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ทั้งคู่ไม่พรากจากกัน นอกจากไฮไลท์เรื่องความรักแล้ว หอคอยแห่งกรุงโซลนี้ก็ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หมีน้อยเท็ดดี้ (Teddy Bear Museum) โดยมีการจัดโชว์ตุ๊กตาหมีจากทั่วโลก และมีการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเกาหลีผ่านตุ๊กตาหมีในชุดเสื้อผ้าและเครื่องแบบต่างๆ

สวนสนุกล็อตเต้ เวิลด์ (Lotte World)

เป็นสวนสนุกในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีส่วนของสวนสนุกกลางแจ้งที่เรียกกันว่า “เกาะมายากล” (Magic Island) ซึ่งสวนสนุกแห่งนี้อัดแน่นไปด้วยสารพัดเครื่องเล่นด้วยตีมของสวนสนุกในจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นหอคอย เรือไวกิ้ง รถรางไฟฟ้า ม้าหมุน สนามเด็กเล่นในเทพนิยาย รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ นอกจากนั้นในตัวอาคารเดียวกันของสวนสนุกก็ยังมีส่วนของโรงแรม โรงหนัง ร้านค้า และร้านขายอาหารมากมาย